วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559
สรุป
สรุปได้ว่าอากาศยานไร้คนขับได้ถูกสร้างขึ้นมาในยุคแรก ๆ เพื่อภารกิจการลาดตระเวนหาข่าว และเนื่องจากอากาศยานไร้คนขับมีจุดเด่นในเรื่องการปราศจากความเสี่ยงในการสูญเสียนักบิน ประหยัดงบประมาณในการผลิต เป็นระบบที่ไม่ซับซ้อนมากนัก มีขนาดเล็ก ทำการตรวจจับได้ยาก มีความคล่องตัวสูง ระยะเวลาบินไม่ขึ้นอยู่กับความเมื่อยล้าของนักบิน เพราะใช้นักบินภายนอก (External Pilot) ดังนั้นอากาศยานไร้คนขับจึงได้ถูกพัฒนาให้มีความทันสมัยมากขึ้น และใช้ในภารกิจหลากหลายมากขึ้น เช่น การค้นหาเป้าหมาย (Target Acquisition) เพื่อชี้เป้า และในปี พ.ศ. 2507 ได้มีอากาศยานไร้คนขับของกระทรวงกลาโหมประเทศต่าง ๆ เกิดขึ้นถึง 11 แบบ เช่น Hunter Pioneer Predator ของกองทัพสหรัฐ Phoenix ของประเทศอังกฤษ Searcher ของประเทศอิสราเอล เป็นต้น จนกระทั่งปี พ.ศ.2533 อากาศยานไร้คนขับจึงกลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับสงครามในปัจจุบันและอนาคต เป็นเครื่องมือเฝ้าตรวจจากระยะไกลที่สามารถส่งภาพกลับให้ผู้บังคับบัญชาเห็นได้ในเวลาจริงหรือใกล้เวลาจริง สามารถลาดตระเวน ติดตามและค้นหาเป้าหมาย เปรียบเสมือนกองทัพมีหูทิพย์ ตาทิพย์ เป็นเขี้ยวเล็บที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของกองทัพ จะเห็นได้ว่าตั้งแต่เริ่มมีวิวัฒนาการของอากาศยานไร้คนขับในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยกองทัพอังกฤษเพื่อต่อต้านกองทัพเยอรมัน ใน 40 ปีกว่าที่ผ่านมา การพัฒนาเครื่องบินแบบนี้เป็นไปอย่างเชื่องช้า และประโยชน์ที่ใช้ก็เป็นไปในด้านการสำรวจและการตรวจการณ์ระยะไกล การพัฒนาอากาศยานหรือยานอวกาศเป็นไปอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับอากาศยานไร้คนขับเหตุผลที่สำคัญก็เพราะว่าความต้องการอากาศยานไร้คนขับ เมื่อเทียบกับยานอวกาศและอากาศยานแบบอื่น ดังนั้นบริษัทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจึงมักจะพิจารณาอย่างรอบคอบและระมัดระวังในการวิจัยด้านนี้ แต่ในปัจจุบันการพัฒนาด้านคอมพิวเตอร์ ระบบขับเคลื่อน วัสดุผสม และเซ็นเซอร์ (Sensor) ต่าง ๆ ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมากและมีราคาถูกลงมาก และสามารถประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ ทั้งทางทหารและทางพลเรือน การพัฒนาอากาศยานไร้คนขับจึงมีความคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น และเกิดความต้องการกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น ซึ่งข้อมูลจากหนังสือ International Military and Civilian Unmanned Aerial Vehicle Survey ที่ตีพิมพ์ในเดือนเมษายน 2554 ได้ระบุว่าตลาดเครื่องบินไร้คนขับหรือยูเอวีปัจจุบันกำลังเป็นที่ต้องการในมากกว่า 57 ประเทศทั่วโลก และมีอากาศยานไร้คนขับมากกว่า 610 แบบทั่วโลกที่ใช้งานทั้งทางกิจการพลเรือนและทางกิจการทหาร มีบริษัทที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรมการบินไร้นักบินอีกกว่า 250 บริษัท จากแนวทางการใช้งานเครื่องบินไร้คนขับหรือยูเอวีในปัจจุบัน จึงมีความเป็นไปได้สูงมากที่ตลาดเครื่องบินไร้นัคนขับ จะมีมูลค่ามากกว่าเป็น 8 หมื่นล้านเหรียญ ฯ ภายในปี 2020 การแบ่งประเภทของอากาศยานไร้คนขับหรือยูเอวี การแบ่งประเภทระบบอากาศยานไร้คนขับสามารถกำหนดรูปแบบการจัดได้หลายลักษณะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความมุ่งหมายในการนำไปใช้ ภารกิจ คุณลักษณะเฉพาะของอากาศยานไร้คนขับเองที่ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับการใช้งาน สำหรับภารกิจใดภารกิจหนึ่ง และ/หรือ สำหรับสภาวะของภูมิประเทศในการนำไปใช้ นอกจากนั้นในข้อพิจารณาดังกล่าว จะต้องคำนึงถึงว่าอากาศยานไร้คนขับดังกล่าวผู้นำไปใช้เป็นองค์กรใด มีการใช้เพื่อความมุ่งหมายและ/หรือเหตุผลใด
อากาศยานไร้คนขับ ( Unmanned Aerial Vehicle, UAV )
อากาศยานไร้คนขับ หรือ ยูเอวี ( Unmanned Aerial Vehicle, UAV ) หมายถึงอากาศยานที่ไม่มีคนขับ ต่างจากขีปนาวุธตรงที่นำมาใช้ใหม่ได้ เป็นพาหนะไร้คนขับที่สามารถควบคุม ได้รับความเสียหาย บินต่างระดับ และใช้เครื่องยนต์ไอพ่นหรือเครื่องยนต์ลูกสูบ กระนั้นขีปนาวุธก็ไม่ถูกจัดว่าเป็นยูเอวีเพราะว่ามันเหมือนกับขีปนาวุธนำวิถีมากกว่า ซึ่งเป็นอาวุธที่ไม่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ แม้ว่ามันจะไร้คนขับและถูกควบคุมจากระยะไกลก็ตาม
ยูเอวีนั้นมีรูปร่าง ขนาด รูปแบบ และเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไป ตามหลักแล้วยูเอวีคือโดรน (เป็นอากาศยานที่ควบคุมจากระยะไกล) แต่การควบคุมอัตโนมัติที่เหมือนกับยูเอวีมากกว่า ยูเอววีมีสองแบบ บ้างควบคุมจากระยะไกล และบ้างก็บินได้ด้วยตนเองโดยอาศัยการโปรแกรมที่เป็นระบบซึ่งซับซ้อนกว่า
ปัจจุบันยูเอวีของทหารนั้นทำหน้าที่สอดแนมและภารกิจโจมตี ในขณะที่โดรนโจมตีมากมายที่ประสบความสำเร็จถูกรายงานว่าพวกมันได้รับความเสียหายได้ง่ายและมักมีข้อผิดพลาดยูเอวียังถูกใช้ในจำนวนที่น้อยในทางพลเรือน อย่างการดับเพลิง ยูเอวีนั้นมักจะทำหน้าที่ในภารกิจที่ยากและอันตรายเกินกว่าที่จะใช้เครื่องบินที่มีคนขับทำ
มารู้จักเทคโนโลยี UAV อากาศยานไร้คนขับ
ปัจจุบันนี้ในหลากหลายวงการรวมถึงวงการข่าวได้มีการนำ UAV หรืออากาศยานไร้คนขับมาใช้กันเป็นจำนวนมากวันนี้จึงนำเสนอให้คุณได้รู้จักกับเจ้า UAV ว่าคืออะไรใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง มีตัวอะไรประกอบที่น่าสนใจ เชื่อว่าเรื่องราวของ UAV สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายด้านมากๆ
เครื่องบินสอดแนมไร้คนขับ
UAV = Unmanned Aerial Vehicle หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า เครื่องบินไร้คนขับ , อากาศยานไร้คนขับ ดูแล้วจะดูเน้นไปทางด้านกองทัพ แต่ตอนนี้ครอบคลุมไปถึงสื่อมวลชนและกลุ่มผู้จัดงานด้วยแตกต่างจากขีปนาวุธ โดยขีปนาวุธจะใช้เป็นอาวุธโจมตีตามเป้าหมายอย่างเดียวแล้วจบ แต่ UAV อากาศยานบังคับนี้ สามารถนำมาใช้ใหม่ได้
ในต่างประเทศนั้นยุคแรกจะเป็นเครื่องบินแบบไร้คนขับ บังคับโดยการควบคุมจากระยะไกล มีขนาดใหญ่ ใช้ในกองทัพ ที่เรียกว่าเครื่องบินสอดแนม แต่ปัจจุบันนี้มีทั้งขนาดใหญ่และ แบบขนาดเล็กที่ออกแบบในลักษณะเครื่องบินวิทยุบังคับ
ภาพ UAV เครื่องบินสอดแนมกองทัพ ใช้รายงานสถานการณ์กองทัพฝ่ายตรงข้าม พอพลังงานในเครื่องบินหมดก็จะบินกลับมาที่เดิม เพื่อชาร์จแบต
ประโยชน์และรูปแบบการใช้งาน ของ UAV ประยุกต์ได้หลากหลาย เช่นตรวจจับองค์ประกอบในอากาศ , ใช้ในการขนส่ง , ใช้ในการโจมตีทางอากาศ , ใช้ในการถ่ายภาพมุมสูง ดูสภาพจราจร ช่วยเหลือภัยพิบัติต่างๆ ซึ่งในต่างประเทศก็ใช้กันอย่างแพร่หลายทีเดียว
ภาพ UAV กำลังถ่ายวีดีโอมุมสูง เชื่อว่าคนดูเจ้าตัวนึ้อาจเข้าใจผิดว่า นี่คือ UFO
และบทความที่เราเคยนำเสนอมาแล้ว เป็นหนึ่งในไฮไลท์ของงาน ThaiBEX ด้วย คือเครื่องบินบังคับวิทยุ 6 ใบพัด ก็จัดเป็น UAV เช่นกัน ที่สามารถติดกล้อง และควบคุมกล้องได้ เพื่อมีไว้สำหรับถ่ายภาพข่าว ภาพสถานที่ท่องเที่ยว สภาพจราจร ภาพกิจกรรมแข่งขันต่างๆ เช่นแข่งฟุตบอล แข่งเรือยาว วิ่ง Rally ที่อยากให้มีภาพมุมสูง รวมไปถึงไว้คอยรายงานสถานการณ์ภัยพิบัติขอความช่วยเหลือเช่นเหตุการณ์น้ำท่วมด้วย ตัวนี้ก็เคยใช้งานปฏิบัติหน้าที่นี้มาแล้ว
โดยภายใน UAV เครื่องบิน 6 ใบพัดภายในงานนี้ มีระบบ GPS ควบคุมการบินอัตโนมัติ และบินลงจอดที่ตำแหน่งเดิมทันทีเมื่อบินออกนอกระยะควบคุม
มีกล้องยึดติดที่ตัวเครื่องบิน สามารถควบคุมกล้องขึ้นลง ซ้าย ขวา ด้วยรีโมทไร้สาย มีระบบ GPS ที่คอยชดเชยไม่ให้กล้องเอียง กล้องจะปรับให้ขนานกับพื้นดินเสมอ ทำให้ได้ถ่ายวีดีโอดูนิ่ง ไม่สั่นไหว เนียนตา และสามารถส่งภาพจากตัวเครื่องบินไปยังห้องควบคุมได้ ขณะเดียวกันภาพถ่ายนี้จะบันทึกลงตัวหน่วยความจำที่กล้องด้วย ได้ภาพที่มีความละเอียดสูง พร้อมใช้งานในการตัดต่อและนำเสนอออกอากาศทางโทรทัศน์ได้
ภาพ UAV เครื่องบินบังคับ 4 ใบพัด ของกองบัญชาการตำรวจนครบาล (ภาพจาก โพสต์ทูเดย์)
ตัวเครื่องบินนี้จะบินโดยที่ไม่มีเสียง สามารถบันทึกภาพได้ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน เก็บภาพได้สูงถึง 300 เมตร บินได้นานสูงสุด 30 นาที ระยะการบังคับบิน 2 กิโลเมตร โดยการถ่ายภาพจากกล้องวงจรปิดที่ติดบน UAV นี้ จะส่งมาที่ ศปก.น.เพื่อตรวจสอบว่ามีเหตุการณ์ผิดปกติ หรือมีใครฝ่าฝืนกฎหมายบ้าง ใช้ข้อมูลภาพในเครื่องบินนี้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีได้
โดยทั่วไป UAV มีทั้งแบบที่สามารถตั้งโปรแกรมให้บินไปตามเส้นทางที่กำหนดได้อัตโนมัติ อย่างเช่น UAV ของ GISTDA หรือใช้วิธีบังคับจากภาพพื้น บางรุ่นก็บังคับได้ด้วย smartphone หรือ tablet ซึ่งรูปร่างหน้าตาของ UAV ก็มีหลากหลายมาก แล้วแต่รูปแบบการใช้งานและวัตถุประสงค์
นับว่า UAV เป็นอุปกรณ์ที่ทันสมัยและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าเช่าเครื่องบิน ค่าตัวนักบิน ค่าน้ำมันเครื่องบินได้เยอะ และสามารถใช้ประโยชน์ในหลายๆด้าน จริงๆ ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอข้อมูลภาพถ่ายมุมสูง ไว้วิเคราะห์สภาพจราจร ให้ความช่วยเหลือยามเกิดภัยพิบัติ ใช้ในการเข้าไปเก็บภาพในสถานที่อันตรายที่คนไม่ควรเข้าไป ใช้จับภาพผู้กระทำความผิด ถ่ายภาพเหตุการณ์การชุมนุมจากมุมสูง และช่วยได้ภาพมุมสูงที่สวยๆมาใช้ตัดต่อนำเสนอโปรโมตสถานที่ท่องเที่ยวได้ด้วย
ประวัติอากาศยานไร้คนขับ
มารู้จักกับอากาศไร้คนขับหรือยูเอวี ( Unmanned Aerial Vehicle : UAV )
อากาศยานไร้คนขับหรือยูเอวี (Unmanned Aerial Vehicle: UAV) เป็นอากาศยานที่ไม่มีนักบินประจำการอยู่บนเครื่อง เป็นอากาศยานที่ไร้คนขับหรือนักบินแต่สามารถควบคุมได้อากาศยานไร้คนขับมีรูปร่าง ขนาด รูปแบบ และเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป ตามหลักแล้วอากาศยานไร้คนขับ ก็คือ โดรน (Drone) นั่นเอง เป็นอากาศยานที่ควบคุมจากระยะไกล ใช้การควบคุมอัตโนมัติซึ่งมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ การควบคุมอัตโนมัติจากระยะไกล และการควบคุมแบบอัตโนมัติโดยใช้ระบบการบินด้วยตนเองซึ่งต้องอาศัยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีระบบที่ซับซ้อนแล้วมีการติดตั้งไว้ในอากาศยานอาจกล่าวได้ว่าอากาศยานไร้คนขับคือเครื่องบินที่สามารถบินได้ด้วยระบบอัตโนมัติ โดยไม่ต้องใช้นักบินประจำการอยู่บนอากาศยาน อาจมีการติดตั้งกล้องถ่ายภาพคุณภาพสูงทั้งกล้องถ่ายภาพในเวลากลางวัน (Electro Optical) และกล้องอิฟาเรด (Infrared Sensor) ที่สามารถบันทึกภาพระยะไกลได้แล้วแพร่ภาพสัญญาณมายังจอภาพ ที่สถานีภาคพื้นดิน ในเวลาที่ใกล้เวลาจริงมากที่สุด (Near Real Time: NRT) ทำให้ผู้บังคับบัญชาสามารถมองเห็นภาพสนามรบในเวลาที่ใกล้เวลาเป็นจริงมากที่สุด นอกจากนั้นอากาศยานไร้คนขับยังสามารถปฏิบัติภารกิจด้านข่าวกรอง การเฝ้าตรวจ การค้นหาเป้าหมาย และการลาดตระเวนหรือที่เราเรียกว่า ISTAR (Intelligence, Surveillance, Target Acquisition, Reconnaissance) ได้ เป็นต้น
ประวัติอากาศยานไร้คนขับอากาศยานไร้คนขับเกิดจากแนวคิดของ Nikola Tesla ซึ่งเป็นวิศวกรเครื่องกลและไฟฟ้าเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดเกี่ยวกับกองบินอากาศยานไร้คนขับขึ้นในปี พ.ศ. 2458 และในปี พ.ศ. 2459 ได้มีการสร้างอากาศยานไร้คนขับรุ่นแรกซึ่งเป็นเป้าฝึกทางอากาศ (Aerial Target) โดย Archibald Montgomery Low (A.M. Low) ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์และเป็นนักวิศวกรรมที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเครื่องบิน หลังจากนั้นอากาศยานไร้คนขับก็มีการคิดค้นพัฒนากันอย่างแพร่หลายมากขึ้น รวมทั้งก่อให้เกิดเครื่องบินอัตโนมัติฮีวิตต์-สเปอร์รี่ (Hewitt-Sperry Automatic Airplane) ขึ้นมาอีกด้วยในปี พ.ศ. 2478 หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เรจินัลด์ เดนนี่ (Reginald Denny) มีการพัฒนาระบบควบคุมให้เป็นอากาศยานไร้คนขับที่ควบคุมได้จากระยะไกลหรืออาร์พีวี (Remote Piloted Vehicle: RPV) ขึ้นอีก และได้มีความพยายามคิดค้นและพัฒนาการสร้างอากาศยานไร้คนขับอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุผลที่ต้องการใช้เทคโนโลยีเพื่อการรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ จนทำให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว เช่น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการใช้อากาศยานไร้คนขับที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นเป้าฝึกให้กับพลปืนต่อต้านอากาศยานและภารกิจโจมตี
หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีประยุกต์ใช้เครื่องยนต์ไอพ่น (Jet Engines) เพิ่มเข้าในระบบเครื่องยนต์ของอากาศยานไร้คนขับ เช่น Ruan Firebee I ของ บริษัท Teledyne Ruan ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2494 ในขณะที่บริษัทอย่าง บีชคราฟท์ (Beechcraft) ได้มีการสร้างอากาศยานไร้คนขับโมเดล 1001 (Model 1001) ขึ้นมาให้กับกองทัพเรือสหรัฐ ในปีพ.ศ. 2498 แต่ขณะนั้นอากาศยานไร้คนขับก็ยังไม่ต่างจากเครื่องบินควบคุมด้วยรีโมตจนกระทั่งถึงยุคสงครามเวียดนาม
ในช่วงปี 2523 และ 2533 ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและจึงเริ่มมีการพัฒนาอากาศยานให้มีขนาดเล็กลง ทำให้เกิดความสนใจเกี่ยวกับอากาศยานไร้คนขับหรือยูเอวีของกองทัพเพิ่มมากขึ้น อากาศยานไร้คนขับหรือยูเอวีนั้นเป็นอาวุธที่สามารถใช้ต่อสู้ได้ ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงและการสูญเสียนักบินได้เป็นอย่างดี อากาศยานไร้คนขับในรุ่นแรก ๆ นั้นถูกใช้เป็นเหมือนอากาศยานลาดตระเวนมากกว่า แต่ในช่วงหลังมีการติดอาวุธให้กับอากาศยาน? เช่น เอ็มคิว-1 พรีเดเตอร์ (MQ-1 Predator) ซึ่งใช้ขีปนาวุธอากาศสู่พื้นเอจีเอ็ม-114 เฮลไฟร์ (AGM-114 Hellfire air-to-ground missiles) ยูเอวีที่ติดอาวุธจะถูกเรียกว่าอากาศยานโจมตีไร้คนขับหรือยูซีเอวี (unmanned combat air vehicle: UCAV) นั่นเอง
การแบ่งประเภทของอากาศยานไร้คนขับตามลักษณะการใช้งาน ดังนี้
1. เป้าหมายและเป้าล่อ เป็นเป้าฝึกให้กับพลปืนต่อต้านอากาศยานหรือขีปนาวุธ
2. ข่าวกรอง เป็นหน่วยข่าวกรองในสมรภูมิ
3. โจมตต ทำภารกิจโจมตี
4. ลำเลียง เป็นยูเอวีที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อการขนส่ง
5. วิจัยและพัฒนา ใช้เพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีของยูเอวีเพื่อนำไปใช้กับยูเอวีจริง
6. พลเรือนและการตลาด เป็นอากาศยานไร้คนขับหรือยูเอวีที่ถูกออกแบบมา เพื่อใช้โดยพลเรือน
การแบ่งประเภทตามพิสัยและความสูงในการปฏิบัติการได้ ดังนี้
1. แบบขนาดเล็ก บินได้ 2,000 ฟุต (600 เมตร) พิสัย 2 กิโลเมตร
2. แบบสำหรับระยะใกล้ บินได้ 5,000 ฟุต (1,500 เมตร) พิสัย 10 กิโลเมตร
3. แบบนาโต้ บินได้ 10,000 ฟุต (3,000 เมตร) พิสัย 50 กิโลเมตร
4. แบบยุทธวิธี บินได้ 18,000 ฟุต (5,500 เมตร) พิสัย 160 กิโลเมตร
5. แบบระดับความสูงปานกลาง บินได้ 30,000 ฟุต (9,000 เมตร) พิสัยกว่า 200 กิโลเมตร
6. แบบระดับความสูงสูง บินได้ กว่า 30,000 ฟุต (9,100 เมตร) พิสัยไม่แน่นอน
7. แบบความเร็วสูงเหนือเสียง บินได้ 50,000 ฟุต (15,200 เมตร) พิสัยกว่า 200 กิโลเมตร
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)